การตรวจสอบสถานะและการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOC) เข้ากับบัญชีกูเกิลมหาวิทยาลัย
- Posted by Sutthiphong Hachit
- Categories Explicit Knowledge
- Date August 24, 2022
- Comments 0 comment
การตรวจสอบสถานะและการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนแบบเปิด(MOOC) เข้ากับบัญชีกูเกิลมหาวิทยาลัย
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ
ตรวจสอบดูแลและปรับปรุงระบบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (MOOC)
๒. การเรียนรู้ ความคาดหวัง ของ “ลูกค้า/ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่นำเสนอ”
ผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้ที่ทำงานด้านการดูแลระบบ (Administrator) เพื่อให้สามารถดูแลรักษา ตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งานให้สามารถเข้าใช้งานด้วยบัญชี @go.buu.ac.th ได้
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑. เพื่อรวบรวมความรู้วิธีการในการตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งาน
๓.๒. เพื่อรวมรวมความรู้วิธีการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานกับบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th
๓.๓. เพื่อให้ความรู้กับบุคลากรในฝ่ายให้สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้
๔. บทสรุปองค์ความรู้
๔.๑. การตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งาน
๔.๑.๑. เข้าสู่ระบบหลังบ้านด้วยบัญชีผู้ใช้ผู้ดูแลระบบ URL คือ https://mooc.buu.ac.th/admin


โดยไม่ต้อง activate ผ่านอีเมล 2.staff status คือกำหนดสิทธิ์ให้เป็นผู้ดูแลระบบ 3.superuser status กำหนดสิทธิ์ให้สามารถกำหนดค่าทั้งหมดในระบบได้
– Delete ลบบัญชีผู้ใช้งาน
๔.๒. การเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานในระบบการเรียนการสอนแบบเปิดกับบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th
ระบบการเรียนการสอนแบบเปิดกำหนดค่าให้สามารถเข้าใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th ด้วยรูปแบบ Single Sign On (SSO) กรณีที่พบปัญหาการเข้าใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th สามารถกำหนดการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานในระบบการเรียนการสอนแบบเปิดกับบัญชีผู้ใช้งาน @go.buu.ac.th ดังนี้
๔.๑.๑. เข้าสู่หน้าผู้ดูแลระบบ
๔.๑.๒. เลือกเมนู PYTHON SOCIAL AUTH > User social auths
๔.๑.๓. เลือกเมนู Add user social auth เพื่อเพิ่มข้อมูลบัญชี
๔.๑.๔. กรอกข้อมูลเพื่อกำหนดค่าบัญชี
– User คลิกเลือก icon search เพื่อค้นหาบัญชีที่ต้องการเชื่อมโยงกับบัญชี @go.buu.ac.th
– Provider กรอกข้อมูล google-oauth2
– Uid กรอกบัญชีอีเมล เช่น username@go.buu.ac.th
– Extra data ไม่ต้องแก้ไขข้อมูล
๕. ประโยชน์ที่ได้รับ
บุคลากรในฝ่ายสามารถนำวิธีการไปใช้ปฏิบัติในการตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งานในระบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (MOOC) และกำหนดค่าการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานในระบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (MOOC) กับบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th ได้
Next post
บทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านไอซีทีในการประชาสัมพันธ์โครงการ
You may also like
Google Keep ใช้ส่วนตัวก็ดี ใช้ทำงานก็เยี่ยม
Google Keep เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการจดบันทึก หรือรายการ เหมือนจดในกระดาษ post it (ผมขอใช้คำว่า โน๊ต ในบทความนี้) ที่มีความสามารถและหลากหลายซึ่งช่วยให้คุณสามารถเรียงลำดับและเก็บรวบรวมไอเดียต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ช่วยทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น บทความนี้จะแนะนำการใช้งานและบางเทคนิคสำหรับการใช้ Google Keep ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น หน้าตาของ Keep บนมือถือ แตะที่ปุ่ม + เพื่อสร้างโน๊ตใหม่ จะปรากฎหน้าจอให้บันทึกโน๊ตดังรูป เราทำอะไรกับโน๊ตได้บ้าง ถ่ายรูปใส่ลงไปในโน๊ต เพิ่มรูปภาพจากเครื่อง ถ้าเราพิมพ์ข้อความที่เป็นลิ้งลงไป Keep จะสร้างเป็นลิ้งให้โดยอัตโนมัติ (ถ้าใช้ในงานเว็บบราวเซอร์ เราสามารถคัดลอกลิ้งของโน๊ตหนึ่งไปใส่ไว้ในอีกโน๊ตหนึ่งเพื่อสร้างลิ้งกันระหว่างโน๊ตได้) วาดรูปได้ อัดเสียงได้ เปลี่ยนรูปแบบการจดบันทึกเป็นแบบรายการได้ (Checkboxes) เปลี่ยนสีโน๊ตได้ ใส่ภาพพื้นหลังโน๊ตได้ สำเนาโน๊ตได้ แชร์โน๊ตไปยังแอพอื่น …
ระบบสำรองข้อมูลการตั้งค่าของอุปกรณ์เครือข่ายแบบอัตโนมัติ
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ ๑.๑ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการเครื่องแม่ข่ายกลุ่ม Cluster/Blade Server ให้พร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๑.๒ ตรวจสอบ, ดูแลเฝ้าระวัง (monitoring) และแก้ไขปัญหา การให้บริการของเครื่องแม่ข่าย (ดูแลเครื่องแม่ข่ายให้ Available time อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด) ๑.๓ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือให้บริการ Campus License สำหรับนิสิตและบุคลากร ๑.๔ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย ๑.๕ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการสำรองข้อมูลระบบสารสนเทศและเครื่องแม่ข่ายของมหาวิทยาลัย ๑.๖ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการระบบบัญชีผู้ใช้งาน (Buu Account) …
การสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ งานบุคคล สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ รับผิดชอบในหน้าที่ดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้กับบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การสรรหาหรือคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ประกันสุขภาพ ประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการที่พักอาศัยของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่พักโควต้าสำนักคอมพิวเตอร์ สวัสดิการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย สวัสดิการกู้เงินเพื่อชำระหนี้สถาบันการเงิน สัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัย การขอรับทุนวิจัย การเลื่อนขั้นเงินเดือน การประเมินหัวหน้าฝ่าย การทำข้อตกลงการประเมินสมรรถนะ การเสนอข้อมูลประวัติแต่งตั้งผู้บริหารของสำนักคอมพิวเตอร์ การขอจัดทำบัตรประจำตัว การตรวจสอบรายงานการมาปฏิบัติงาน การลาทุกประเภท การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์การเสนอและเลือกตั้งต่างๆ ตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา การอบรมปฐมนิเทศของระบบ ISO ตามระเบียบปฏิบัติ จัดทำประกาศ คำสั่ง ตามระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จากการปฏิบัติงานบุคคลสำนักคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาพบปัญหาเรื่องต้องปรับการดำเนินงานใหม่ เรื่อง การสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย …