การตรวจสอบเอกสารในการจัดโครงการอบรมของฝ่ายบริการวิชาการ โดย นางสาวอมรรัตน์ มากบดี หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงานของฝ่ายบริการวิชาการ ภารกิจหลักที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและบุคลากร โครงการบริการวิชาการ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า (USR) โดยแต่ละโครงการจะมีรูปแบบของการจัดโครงการคล้ายคลึงกัน แต่เอกสารในการดำเนินงานจะมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องเข้าใจและสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารที่จะต้องนำไปใช้ในการรายงานผลเมื่อจบโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องดำเนินการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ก่อนการจัดโครงการ หลังการจัดโครงการ โดยแต่ละช่วง จะมีเอกสารที่หัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบ และติดตาม มีรายละเอียดดังนี้ ก่อนการจัดโครงการ ช่วงของก่อนจัดโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ จะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบและติดตามการทำเอกสารต่าง ๆ …
Explicit Knowledge เรื่อง “การสร้างต้นแบบระบบ (prototype) ฉบับเร่งด่วน” จัดทำโดย นางสาวกิตินันท์ หุ่นดี ฝ่ายพัฒนาระบบ ที่มา/ประเด็นปัญหา ในการพัฒนาระบบเมื่อเราเก็บความต้องการของระบบเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่เราจะเริ่มต้นการพัฒนาระบบ เราควรจัดทำต้นแบบ (prototype) สำหรับนำเสนอให้ผู้ใช้งานเห็นกระบวนการและรูปแบบของการใช้งานระบบก่อน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อผู้ใช้งานได้เห็นต้นแบบที่เราได้นำเสนอทำให้ผู้ใช้งาน คิดเงื่อนไข หรือความต้องการได้มากขึ้น และยังทำให้ผู้ใช้งานกับผู้พัฒนาระบบเข้าใจขั้นตอนการทำงานที่ตรงกัน ซึ่งการจัดทำต้นแบบนั้น อาจจะไม่ได้นำมาใช้ในการพัฒนาระบบจริงก็ได้ เนื่องจากเมื่อผู้ใช้งานเห็นหน้าจอ หรือ กระบวนการที่เราได้นำเสนอต้นแบบไปนั้น มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือ เมื่อเราได้เริ่มพัฒนาไปแล้วผู้พัฒนาระบบเห็นว่า หน้าจอที่ได้ทำเป็นต้นแบบไว้นั้น ใช้งานยากเกินไป หรือ มีแนวทางที่จะทำให้การใช้งานง่ายขึ้น หรือ ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ตามที่ออกแบบไว้ เป็นต้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้น ในการพัฒนาต้นแบบ เราไม่จำเป็นต้องพัฒนาต้นแบบให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบต่อได้ แต่เราทำเพื่อนำเสนอให้กับผู้ใช้งานได้เห็นภาพ กระบวนการทำงานที่เราจะพัฒนาระบบให้กับผู้ใช้งาน …
การตรวจสอบเอกสารในการจัดโครงการอบรมของฝ่ายบริการวิชาการ จัดทำโดย…นางสาวอมรรัตน์ มากบดี หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงานของฝ่ายบริการวิชาการ ภารกิจหลักที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและบุคลากร โครงการบริการวิชาการ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า (USR) โดยแต่ละโครงการจะมีรูปแบบของการจัดโครงการคล้ายคลึงกัน แต่เอกสารในการดำเนินงานจะมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องเข้าใจและสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารที่จะต้องนำไปใช้ในการรายงานผลเมื่อจบโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องดำเนินการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ก่อนการจัดโครงการ หลังการจัดโครงการ โดยแต่ละช่วง จะมีเอกสารที่หัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบ และติดตาม มีรายละเอียดดังนี้ ก่อนการจัดโครงการ ช่วงของก่อนจัดโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ จะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารต่าง …
ในการผลิต Clip Video ซึ่งจัดเป็นสื่อประเภท Multi Media ที่มีการใช้ทั้งภาพและเสียงในการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ผู้ผลิตสื่อได้ตั้งไว้นั้น ผู้ชมจะเกิดการรับรู้เนื้อหาที่สื่อสารได้อย่างชัดเจน กระจ่าง ไม่มีความคลุมเครือก็ต่อเมื่อสื่อ Multi Media ที่ได้ชมมีคุณภาพดี ทั้งในด้านคุณภาพของภาพกราฟิคที่ควรต้องมีความชัดเจน เอื้อต่อการมองเห็น และอีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสื่อสารแบบ Multi Media คือเรื่องคุณภาพของเสียงโดยเฉพาะเสียงพูดหรือเสียงบรรยายที่ควรต้องมีความชัดเจน อยู่ในระดับการฟังที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ชม Clip Video เกิดการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง จากการที่เสียงบรรยายใน Clip Video หรือสื่อ Multi Media ถูกจัดเป็นเครื่องมือหรือสื่อหลักในการส่งสารทางด้านการฟังไปสู่ผู้ชม/ผู้ฟังนั้น การได้มาซึ่งเสียงบรรยายที่มีคุณภาพที่มีความชัดเจน สมจริง จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ทำการบันทึกเสียงต้องค้นหาอุปกรณ์ วิธีการ ขั้นตอน เทคนิค เพื่อให้สามารถบันทึกเสียงบรรยายให้มีคุณภาพดี เหมาะกับการนำไปประกอบใน …
บทวิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์ ผู้จัดทำได้วิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์จากผลการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รุ่นที่ ๑” ซึ่งอบรมระหว่างวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ บนระบบฝึกอบรมออนไลน์ (e-Training) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. องค์ประกอบของการฝึกอบรมออนไลน์ การฝึกอบรมออนไลน์ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” มีองค์ประกอบ ดังนี้ วัตถุประสงค์การฝึกอบรม คือการกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรมว่าหลังจากรับการฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือได้รับการพัฒนาในด้านใด เป็นต้น เนื้อหาการฝึกอบรม เนื้อหาของการฝึกอบรมควรได้จากการสำรวจความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาจารย์ นิสิต บุคลากร …
องค์ประกอบระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (BUU LMS) ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Learning Management System : LMS) ทำทำงานบนเพลตฟอร์ม MOODLE เป็นเว็บไซต์แอพพลิเคชัน ทำงานบนเครื่องแม่ข่าย มีโครงสร้างการจัดเก็บของระบบ ดังนี้ 1. Source code คือ ส่วนจัดเก็บไฟล์โปรแกรมของระบบจะวางอยู่ในโฟลเดอร์ /var/www/html/moodle 2. Moodledata คือ ส่วนจัดเก็บไฟล์สื่อต่างๆ เช่น เอกสาร รูปภาพ วีดีโอ จัดเก็บอยู่ที่ /var/moodledata 3. Database คือ ส่วนจัดเก็บฐานข้อมูลระบบโดยใช้ฐานข้อมูล MySQL ระบบจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการจัดการเครื่องแม่ข่ายใหม่โดยใช้เครื่องมือ Docker เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโดยการประสานไปยังฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมเครื่องแม่ข่ายและติดตั้งเครื่องมือ Docker …
การดูแลและให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องบรรยาย จัดทำโดย…นางสาวสุรีรัตน์ ชมชื่น ฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ ฝ่ายบริการวิชาการมีหน้าที่ในการให้บริการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านไอซีทีให้แก่นิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ตลอดจนให้บริการวิชาการเป็นที่ปรึกษาด้านไอซีทีในโครงการขนาดใหญ่ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และให้บริการสถานที่สำหรับการจัดประชุม อบรม สัมมนา ซึ่งทั้งการจัดฝึกอบรมหรือการขอใช้ห้องปฎิบัติการเพื่อการจัดประชุม อบรม สัมมนา นั้น จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ ทั้งห้องปฎิบัติการ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ต้องมีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ โดยฝ่ายบริการวิชาการมีนโยบายในการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องบรรยาย ทั้งในวันเวลาราชการและวันหยุดราชการ ซึ่งผู้ที่มาดูแลการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องบรรยาย จะต้องทราบขั้นตอน วิธีการ และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ซึ่งจากการให้บริการที่ผ่านมานั้น ทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการให้บริการ และมีข้อสังเกตและข้อมูลที่ต้องทราบดังนี้ 1. อัตราค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องบรรยายของสำนักคอมพิวเตอร์ จัดเก็บตามระเบียบ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนการใช้ห้องบรรยาย และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ …
Explicit Knowledge เรื่อง “การส่งอีเมลด้วยโปรแกรม Microsoft Word ผ่านโปรแกรม Microsoft Outlook” โดย นางสาวพนิดา มากสมบัติ ฝ่ายบริการวิชาการ การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีของนิสิตและบุคลากร ของมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหนึ่งในภาระงานที่รับผิดชอบของฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเมื่อมีการกำหนดจัดโครงการขึ้น ทางฝ่ายบริการวิชาการจะดำเนินการทำหนังสือประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครผู้เข้าอบรม จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลผู้สมัครอบรมแล้ว ต้องทำเนินการยืนยันการเข้าร่วมอบรมกับผู้สมัครอบรม และหลังจากอบรมเสร็จสิ้นผ่านไปแล้ว ๒ เดือนต้องดำเนินการติดตามผลการอบรม ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ทางฝ่ายบริการใช้เพื่อประชาสัมพันธ์อบรม ยืนยันการเข้าร่วมอบรม และติดตามผลการอบรม คือการส่งอีเมลไปสอบถามผู้เข้าอบรม ซึ่งจากการที่ฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ต้องดำเนินการกระบวนงานต่าง ๆ ผ่านอีเมลของผู้สมัครอบรมในปริมาณอีเมลจำนวนมาก เมื่อต้องทำการคัดลอกอีเมลทีละอีเมลจึงทำให้การดำเนินการล่าช้า อีกทั้งข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนอีเมลที่สามารถใส่สูงสุดในการส่งแต่ละครั้ง รวมถึงเมื่อทำการส่งพร้อมกันหลายอีเมลจะทำให้ผู้รับอีเมลเห็นอีเมลอื่น ๆ ที่ทางฝ่ายบริการวิชาการส่งไปพร้อมกันด้วย ซึ่งไม่ได้เป็นลักษณะของการส่งอีเมลแบบหนึ่งต่อหนึ่ง …
Explicit Knowledge เรื่อง “การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับลูกค้า” โดย นางสาวฐิติรัชต์ สุดพุ่ม ฝ่ายบริการวิชาการ ในอดีตที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการใช้ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภายนอกและการจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานภายนอก (หมู่คณะ) ในขณะนั้นยังมีลูกค้าที่เข้ามารับบริการไม่มากนัก โดยลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจะเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการเพียงครั้งเดียวและก็ไม่ได้เข้ามาใช้บริการซ้ำ ทำให้เกิดข้อสงสัยในใจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร โดยช่วงนั้นได้มีโอกาสไปอบรมและได้ความรู้มาบ้าง จึงได้นำมาทดลองใช้กับงาน ซึ่งมีวิธีการทำ ดังนี้ ขั้นแรก เมื่อเวลาลูกค้าที่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ มาใช้บริการ จะทำการไปพูดคุยกับลูกค้า หรือผู้ประสานงาน โดยได้ทำการคุยและได้สอบถามว่าใครเป็นผู้ดูแลโครงการ ใครเป็นหัวหน้าทีม เมื่อรู้แล้วก็จะเข้าไปทำการตีสนิท โดยในการเข้าไปตีสนิทก็จะสอบถามถึงความต้องการของลูกค้าและจะให้บริการเป็นอย่างดี และถ้าเป็นไปได้จะขอเบอร์โทรศัพท์หรือ Facebook หรืออีเมล หรือช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ ขั้นที่ 2 เมื่อได้ช่องทางการติดต่อมาแล้ว จะทำให้ลูกค้าไว้ใจเมื่อมีโอกาส เช่น …