การเชื่อมต่อฐานข้อมูล Oracle ด้วยโปรแกรม Microsoft Access 2016 สามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ติดตั้งโปรแกรม Oracle Client โดยเลือกติดตั้งในรูปแบบของ Administrator ให้เรียบร้อยก่อน ดังภาพที่ 1 และให้ติดตั้งโปรแกรมตามขั้นตอนจนสำเร็จ ภาพที่ 1 แสดงการเลือกรูปแบบตอนติดตั้งโปรแกรม Oracle Client เมื่อติดตั้ง Oracle Client เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเพิ่มข้อมูลสำหรับติดต่อฐานข้อมูลในไฟล์ tnsnames.ora ตาม path ที่ติดตั้งโปรแกรม ตัวอย่างเช่น C:appsubaebaeproduct11.2.0client_1networkadmin 2. ตั้งค่า ODBC ให้เราพิมพ์คำว่า “odbc” ในช่อง Search …
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับณฑิตศึกษา โดยในแต่ละปีการศึกษา มีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาจำนวนมาก ดังนั้นกระบวนการรับสมัครแบบให้ผู้สมัครเดินเข้ามายื่นเอกสารที่มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องใช้จำนวนบุคลากรทำงานในส่วนของการรับสมัครเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สูญเสียทรัพยากรด้านบุคลากร ด้านเวลา และด้านงบประมาณ สำนักคอมพิวเตอร์ ส่วนงานที่มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาในเรื่องนี้ ได้จัดประชุมร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัคร และดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลการศึกษาต่อ และสมัครศึกษาต่อสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา เนื่องจาก ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการของระบบกำหนดระยะเวลาในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยเอกสารประกอบการสมัครเป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่สมัคร ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องลบเอกสารประกอบการสมัครตามข้อตกลง ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าบัณฑิตวิทยาลัยที่ที่รับผิดชอบสามารถลบเอกสารประกอบการสมัครได้ ผู้พัฒนาระบบจึงได้สรุปปัญหา และคิดแนวทางการแก้ปัญหาการทำงานในระบบ ๒. การเรียนรู้ ความคาดหวัง ของ “ลูกค้า/ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่นำเสนอ” …
เขียนรายละเอียด xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ยังมีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อต่อเนื่องในอัตราที่สูงและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ การเดินทางมาปฏิบัติงาน รวมถึงการประชุม สัมมนาต่าง ๆ ที่มีการร่วมกลุ่มกันจำนวนมาก ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมมากมาย โดยเฉพาะ “การทำงาน” หลายองค์กรได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ด้วยการอนุมัติให้มีการทำงานจากที่บ้าน หรือที่เรียกกันว่า “Work from Home” เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานอันเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร จะเห็นว่าองค์กรหลายแห่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงาน การประชุม การอบรม และการจัดสัมมนาต่าง ๆ ที่มีการร่วมกลุ่มคนจำนวนมากจากในที่ตั้ง (Onsite) สู่ช่องทางในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เกิดการรักษาระยะห่างในสังคม (Social distancing) จากวิกฤติที่เกิดขึ้นทำให้ฝ่ายบริการวิชาการ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในการจัดอบรม ประชุม สัมมนา จากเดิมที่จัดในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนมาเป็นการอบรมแบบออนไลน์ โดยเริ่มจากการจัดอบรมออนไลน์สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีสำหรับนิสิต อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นโครงการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนก่อน …
ภาระงานที่รับผิดชอบ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน วิเคราะห์ ดำเนินงานการขอปรับแผน และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานผลการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ การวางแผนอัตรากำลังคน การขอกรอบกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง การโอนเงินระหว่างหมวด และงานที่ได้รับมอบหมาย คืองานด้านการจัดทำระบบ ISO ของสำนักคอมพิวเตอร์ และงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักคอมพิวเตอร์ ซึ่งในกระบวนการจัดทำ KM ของงานนโยบายและแผน เลือกการนำเครื่องมือ KM มาใช้ ในหัวข้อของการจัดทำเล่ม SAR ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยใช้เครื่องมือ องค์ความรู้จากเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) เพราะในการจัดทำเล่มให้สำเร็จลุล่วงลงได้ดี ต้องใช้องค์ความรู้จากหลายส่วนมาประกอบในแต่ละหมวดของเล่มตามเกณฑ์การประเมิน EdPEx การเรียนรู้ ความคาดหวัง …
การตรวจสอบเอกสารในการจัดโครงการอบรมของฝ่ายบริการวิชาการ โดย นางสาวอมรรัตน์ มากบดี หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงานของฝ่ายบริการวิชาการ ภารกิจหลักที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและบุคลากร โครงการบริการวิชาการ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า (USR) โดยแต่ละโครงการจะมีรูปแบบของการจัดโครงการคล้ายคลึงกัน แต่เอกสารในการดำเนินงานจะมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องเข้าใจและสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารที่จะต้องนำไปใช้ในการรายงานผลเมื่อจบโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องดำเนินการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ก่อนการจัดโครงการ หลังการจัดโครงการ โดยแต่ละช่วง จะมีเอกสารที่หัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบ และติดตาม มีรายละเอียดดังนี้ ก่อนการจัดโครงการ ช่วงของก่อนจัดโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ จะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบและติดตามการทำเอกสารต่าง ๆ …
Explicit Knowledge เรื่อง “การสร้างต้นแบบระบบ (prototype) ฉบับเร่งด่วน” จัดทำโดย นางสาวกิตินันท์ หุ่นดี ฝ่ายพัฒนาระบบ ที่มา/ประเด็นปัญหา ในการพัฒนาระบบเมื่อเราเก็บความต้องการของระบบเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่เราจะเริ่มต้นการพัฒนาระบบ เราควรจัดทำต้นแบบ (prototype) สำหรับนำเสนอให้ผู้ใช้งานเห็นกระบวนการและรูปแบบของการใช้งานระบบก่อน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อผู้ใช้งานได้เห็นต้นแบบที่เราได้นำเสนอทำให้ผู้ใช้งาน คิดเงื่อนไข หรือความต้องการได้มากขึ้น และยังทำให้ผู้ใช้งานกับผู้พัฒนาระบบเข้าใจขั้นตอนการทำงานที่ตรงกัน ซึ่งการจัดทำต้นแบบนั้น อาจจะไม่ได้นำมาใช้ในการพัฒนาระบบจริงก็ได้ เนื่องจากเมื่อผู้ใช้งานเห็นหน้าจอ หรือ กระบวนการที่เราได้นำเสนอต้นแบบไปนั้น มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติม หรือ เมื่อเราได้เริ่มพัฒนาไปแล้วผู้พัฒนาระบบเห็นว่า หน้าจอที่ได้ทำเป็นต้นแบบไว้นั้น ใช้งานยากเกินไป หรือ มีแนวทางที่จะทำให้การใช้งานง่ายขึ้น หรือ ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ตามที่ออกแบบไว้ เป็นต้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้น ในการพัฒนาต้นแบบ เราไม่จำเป็นต้องพัฒนาต้นแบบให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบต่อได้ แต่เราทำเพื่อนำเสนอให้กับผู้ใช้งานได้เห็นภาพ กระบวนการทำงานที่เราจะพัฒนาระบบให้กับผู้ใช้งาน …
การตรวจสอบเอกสารในการจัดโครงการอบรมของฝ่ายบริการวิชาการ จัดทำโดย…นางสาวอมรรัตน์ มากบดี หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ สำนักคอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงานของฝ่ายบริการวิชาการ ภารกิจหลักที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและบุคลากร โครงการบริการวิชาการ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า (USR) โดยแต่ละโครงการจะมีรูปแบบของการจัดโครงการคล้ายคลึงกัน แต่เอกสารในการดำเนินงานจะมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะต้องเข้าใจและสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารที่จะต้องนำไปใช้ในการรายงานผลเมื่อจบโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องดำเนินการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ก่อนการจัดโครงการ หลังการจัดโครงการ โดยแต่ละช่วง จะมีเอกสารที่หัวหน้าฝ่ายจะต้องตรวจสอบ และติดตาม มีรายละเอียดดังนี้ ก่อนการจัดโครงการ ช่วงของก่อนจัดโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ จะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารต่าง …
ในการผลิต Clip Video ซึ่งจัดเป็นสื่อประเภท Multi Media ที่มีการใช้ทั้งภาพและเสียงในการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ผู้ผลิตสื่อได้ตั้งไว้นั้น ผู้ชมจะเกิดการรับรู้เนื้อหาที่สื่อสารได้อย่างชัดเจน กระจ่าง ไม่มีความคลุมเครือก็ต่อเมื่อสื่อ Multi Media ที่ได้ชมมีคุณภาพดี ทั้งในด้านคุณภาพของภาพกราฟิคที่ควรต้องมีความชัดเจน เอื้อต่อการมองเห็น และอีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสื่อสารแบบ Multi Media คือเรื่องคุณภาพของเสียงโดยเฉพาะเสียงพูดหรือเสียงบรรยายที่ควรต้องมีความชัดเจน อยู่ในระดับการฟังที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ชม Clip Video เกิดการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง จากการที่เสียงบรรยายใน Clip Video หรือสื่อ Multi Media ถูกจัดเป็นเครื่องมือหรือสื่อหลักในการส่งสารทางด้านการฟังไปสู่ผู้ชม/ผู้ฟังนั้น การได้มาซึ่งเสียงบรรยายที่มีคุณภาพที่มีความชัดเจน สมจริง จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ทำการบันทึกเสียงต้องค้นหาอุปกรณ์ วิธีการ ขั้นตอน เทคนิค เพื่อให้สามารถบันทึกเสียงบรรยายให้มีคุณภาพดี เหมาะกับการนำไปประกอบใน …
บทวิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์ ผู้จัดทำได้วิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์จากผลการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รุ่นที่ ๑” ซึ่งอบรมระหว่างวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ บนระบบฝึกอบรมออนไลน์ (e-Training) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. องค์ประกอบของการฝึกอบรมออนไลน์ การฝึกอบรมออนไลน์ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” มีองค์ประกอบ ดังนี้ วัตถุประสงค์การฝึกอบรม คือการกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรมว่าหลังจากรับการฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือได้รับการพัฒนาในด้านใด เป็นต้น เนื้อหาการฝึกอบรม เนื้อหาของการฝึกอบรมควรได้จากการสำรวจความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาจารย์ นิสิต บุคลากร …