การบันทึกและปรับแต่งเสียงบรรยายให้ได้คุณภาพ เพื่อใช้ประกอบในงาน Video
ในการผลิต Clip Video ซึ่งจัดเป็นสื่อประเภท Multi Media ที่มีการใช้ทั้งภาพและเสียงในการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ผู้ผลิตสื่อได้ตั้งไว้นั้น ผู้ชมจะเกิดการรับรู้เนื้อหาที่สื่อสารได้อย่างชัดเจน กระจ่าง ไม่มีความคลุมเครือก็ต่อเมื่อสื่อ Multi Media ที่ได้ชมมีคุณภาพดี ทั้งในด้านคุณภาพของภาพกราฟิคที่ควรต้องมีความชัดเจน เอื้อต่อการมองเห็น และอีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสื่อสารแบบ Multi Media คือเรื่องคุณภาพของเสียงโดยเฉพาะเสียงพูดหรือเสียงบรรยายที่ควรต้องมีความชัดเจน อยู่ในระดับการฟังที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ชม Clip Video เกิดการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
จากการที่เสียงบรรยายใน Clip Video หรือสื่อ Multi Media ถูกจัดเป็นเครื่องมือหรือสื่อหลักในการส่งสารทางด้านการฟังไปสู่ผู้ชม/ผู้ฟังนั้น การได้มาซึ่งเสียงบรรยายที่มีคุณภาพที่มีความชัดเจน สมจริง จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ทำการบันทึกเสียงต้องค้นหาอุปกรณ์ วิธีการ ขั้นตอน เทคนิค เพื่อให้สามารถบันทึกเสียงบรรยายให้มีคุณภาพดี เหมาะกับการนำไปประกอบใน Clip Video
ในรายงานฉบับนี้ผู้นำเสนอได้ถอดผลสำเร็จจากประสบการณ์การบันทึกเสียงบรรยายมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเสียงบรรยายที่บันทึกมานั้น ได้ถูกนำไปใช้งานจริง โดยได้เผยแพร่เนื้อหาในรูปแบบ Clip Video ไปสู่ผู้เรียนทั้งที่เป็นเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาหรือบุคคลภายจากหน่วยงานภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน Clip Video นั้น ๆ ซึ่งในด้านของการเป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้นำเสนอรายงานฉบับนี้สามารถจำแนกปัจจัย และวิธีการในการบันทึกเสียงบรรยายให้มีคุณภาพได้ดังต่อไปนี้
- ด้านอุปกรณ์
- Microphone ที่ผู้นำเสนอรายงานมองว่าเป็นหัวใจของการบันทึกเสียง เพราะเป็นอุปกรณ์ต้นทางในการรับ
สัญญาณเสียงเข้าสู่ระบบการบันทึก ซึ่งผู้นำเสนอรายงานฉบับนี้ใช้ Microphone ชนิด Condenser ที่มีความไวต่อการรับสัญญาณเสียง เหมาะกับการใช้บันทึกเสียงพูดหรือเสียงบรรยาย โดยเชื่อมต่อ Microphone เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทางช่อง USB Port
- หูฟัง หรือชุดอุปกรณ์ขยายเสียงที่มีคุณภาพ ใช้สำหรับ Playback หรือเพื่อใช่ทดสอบฟังเสียงที่ทำการบันทึกมาว่าได้คุณภาพหรืออยู่ในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ซึ่งการใช้อุปกรณ์สำหรับ Playback ที่ด้อยคุณภาพ อาจทำให้ผู้บันทึกเสียงรับฟังเสียงที่ผิดเพี้ยน ไม่ได้รับฟังเสียงใกล้เคียงความเป็นจริงตามที่ถูกบันทึกมา
๒. เริ่มต้นการบันทึกเสียง
- หลังจากต่อ Microphone เข้ากับคอมพิวเตอร์ทางช่อง USB Port แล้ว ให้คลิกขวาที่ไอคอนรูปลำโพงทางมุมขวาด้านล่างของจอภาพ จากนั้นเลือกไปที่ Recording devices (ดังรูป) เพื่อไปทำการตั้งค่าระดับเสียงที่กำลังจะบันทึก
- หลังจากเลือก Recording devices จะปรากฎหน้าต่าง Sound ดังภาพ จะมีรูปแสดงให้เห็นว่า Microphone ที่เราเพิ่งเชื่อมต่อกำลังอยู่ในสถานะ Active ให้คลิกที่ไอคอน Microphone ตัวที่เพิ่งต่อเข้าไปนี้ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Properties
- จะปรากฏหน้าต่าง Microphone Properties ขึ้น ให้เลือกที่แถบ Levels จากนั้นเลื่อน (สไลด์ ซ้าย-ขวา) ปุ่มระดับความดังให้เหมาะสม ซึ่งอาจอยู่ในระดับ ๘๐ – ๙๕ โดยจะปรับตามระดับเสียงของผู้บรรยายว่าเป็นคนพูดเสียงดังหรือเบาอย่างไร ในกรณีที่เป็นคนพูดเสียงเบา ก็ให้เลื่อน (สไลด์ไปทางขวา) เพื่อให้ระดับเสียงให้ใกล้เคียง ๑๐๐ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK
- ขั้นตอนถัดมาคือการเปิดโปรแกรมสำหรับบันทึกเสียง โดยในที่นี้ผู้นำเสนอรายงานจะบันทึกเสียงด้วย
โปรแกรม Sound Recorder ที่มีมาพร้อมกับตัว MS Windows อยู่แล้ว
- เริ่มต้นบันทึกเสียงโดยกดปุ่ม Start Recording เมื่อโปรแกรมเริ่มต้นบันทึกหน้าต่างจะแสดงการนับเวลาไป
ข้างหน้า และเห็นเส้นระดับเสียงสีเขียวขึ้น-ลง ตามระดับความดังของเสียงพูด จนเมื่อบันทึกสิ้นสุดให้กดปุ่ม
Stop Recording จากนั้นให้จัดเก็บไฟล์เสียงในที่สะดวกแก่การค้นหา
คำแนะนำ – ควรให้ปากของผู้บรรยายห่างจาก Microphone ในระยะประมาณหนึ่งฝ่ามือตะแคง จะทำให้ได้ระดับเสียง
ดีที่สุด
– เมื่อบันทึกเสียงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้จัดเก็บ Condenser Microphone ด้วยความระมัดระวัง เพราะการถูกกระแทก หรือตกพื้นเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ Microphone ชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้อีกเลย
๓. การปรับแต่งเสียงที่ได้จากการบันทึก
การปรับแต่งเสียงที่ได้จากการบันทึกถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยในที่นี้ผู้นำเสนอรายงานได้ใช้โปรแกรม Adobe Audition เพื่อทำการปรับแต่งเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่เหมาะสมตามความต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เปิดโปรแกรม Adobe Audition จากนั้นเปิดไฟล์เสียงที่ต้องการปรับแต่ง โดยใช้คำสั่ง File > Open
ไฟล์เสียงจะปรากฏเป็นรูปคลื่นความถี่เสียงดังภาพ จากภาพตัวอย่างจะเห็นการแบ่งช่องความถี่เสียง
ออกเป็นสองส่วน คือส่วนบน-ส่วนล่าง ซึ่งหมายถึงโปรแกรมทำงานในแบบเสียง Stereo ๒ Chanel
นั่นเอง
- เรื่องของระดับเสียง จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าเสียงใน Chanel บนมีระดับรูปคลื่นที่ต่ำกว่า Chanel
ด้านล่าง ซึ่งหมายถึงระดับเสียงจะเบากว่า Chanel ทางด้านล่าง และจากรูปตัวอย่างระดับเสียง
ใน Chanel ล่างเป็นระดับเสียงที่มีความดังเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน คือมีความดังในระดับใกล้เคียง
+- 0dB โดยดูได้จากยอดของคลื่นเสียงอยู่ในระดับใกล้เคียงเส้นขาวที่ -30000 ที่ถือเป็นเส้นบอกระดับเสียง
มาตรฐาน
- การปรับลด-เพิ่มระดับเสียง ทำได้โดย ดับเบิ้ลคลิกที่รูปลูกคลื่นระดับเสียงให้ Active > เลือกที่เมนู Effects
> เลือกที่ Amplitude > และเลือกที่ Amplify/Fade
- จะปรากฏหน้าต่าง Amplify/Fade ที่แถบ Constant Amplification ในช่อง dB ให้ใส่ตัวเลขระดับของ
ความดังที่ต้องการให้เพิ่มขึ้น (ตัวอย่างคือ ๓ dB) > จากนั้นคลิกปุ่ม OK
หลังจากเพิ่มระดับเสียงตามขั้นตอน d. แล้วจะเห็นได้ว่าระดับของรูปคลื่นเสียงที่ Chanel บนสูงขึ้นตามค่าที่เราได้เพิ่มเข้าไป ให้ผู้ปรับแต่งเสียงปรับเพิ่มหรือลดระดับเสียงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงเส้นมาตรฐาน ดังตัวอย่างใน Chanel ล่างที่มีระดับเสียงใกล้เคียงเส้นมาตรฐาน เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
- การตัดเสียงรบกวนหรือ Noise ที่โดยทั่วไปมักจะได้ยินเป็นเสียงซ่าส์ ออกทางหูฟังหรือลำโพง โดยเริ่มต้นขั้นตอนที่การ Capture สัญญาณเสียง Noise เพื่อให้โปแกรมสามารถเลือกตัดความถี่ในช่วงที่เป็นสัญญาณ Noise เท่านั้น ซึ่งจะทำให้สัญญาณเสียงในย่านอื่น ๆ ไม่เกิดผลกระทบหลังจากที่โปรแกรมตัดเสียงช่วงความถี่ Noise ออกไปแล้ว ทำได้โดยการ Drag สัญญาณ Noise ที่เส้นความถี่เสียง (ดังรูป ในบริเวณแถบสีขาว) > เลือกที่เมนู Effects > เลือกที่ Noise Reduction > เลือกที่ Capture Noise Reduction Profile โปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลความถี่เสียง Noise ตามที่เราเลือกไว้
- จากนั้นสั่งให้แกรมตัดเสียง Noise ตามช่วงความถี่เสียงที่เราได้ Capture ไว้แล้ว โดยเริ่มที่ดับเบิ้ลคลิกที่
รูปคลื่นเสียงเพื่อให้คลื่นเสียง Active ทั้งหมด เพราะเราต้องการตัดเสียง Noise ออกจากไฟล์เสียงทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ จากนั้นไปที่เมนู Effects > เลือกที่ Noise Reduction > และเลือกที่ Noise Reduction โปรแกรมจะตัดเสียง Noise ออกจากไฟล์เสียงของเราตามต้องการ
- บันทึกไฟล์เสียงที่ได้ปรับแต่งตามต้องการเรียบร้อยแล้ว โดยไปที่เมนู File > เลือกที่ Save As > ตั้งชื่อ
ไฟล์ และเลือกชนิดไฟล์เสียงตามที่ต้องการ (ดังรูปตัวอย่างเลือกเป็นชนิด .mp3) > จัดเก็บไฟล์เสียงในที่ สะดวกต่อการนำมาใช้งาน จึงเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการในการบันทึก และปรับแต่งเสียงพูดหรือเสียง
บรรยาย
คำแนะนำ ไฟล์เสียงที่ได้จากการผลิตตามขั้นตอนข้างต้นนี้ยังสามารถนำไปปรับเพิ่ม-ลด ระดับได้อีกบนโปรแกรมตัดต่อ ซึ่งเป็นการผลิตสื่อในขั้นตอนถัดไป ส่วนขั้นตอนในต่าง ๆ ในรายงานนี้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นในการผลิตสื่อ Clip Video เท่านั้น
จากเนื้อหาตามข้างต้นที่ถอดจากประสบการณ์การบันทึก และปรับแต่งเสียงบรรยายของผู้นำเสนอรายงานนี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะทำการบันทึกเสียงบ้างไม่มากก็น้อย เนื่องจากในปัจจุบันนี้ทั้งอุปกรณ์ และโปรแกรมมีความหลากหลายเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่ายดายยิ่งขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วบนค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง การทำงานให้มีคุณภาพของแต่ละบุคคลจึงไม่ใช่เรื่องที่ตายตัว ผู้ปฏิบัติงานสามารถประยุกต์หรือเลือกวิธีการให้เหมาะกับตนเองได้ตลอดกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด