ปัจจุบันงาน MA ของระบบสารสนเทศที่ผู้พัฒนาระบบหรือผู้ดูแลระบบต้องดำเนินงานมีจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องนำ MA ที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งพบว่า MA ที่ผู้ใช้งานแจ้งเข้ามามีหลายเรื่อง ถ้าลดจำนวนเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของผู้พัฒนาระบบโดยตรงลง เช่น การขอแก้ไขข้อมูลที่อาจทำให้ระบบเกิดความไม่สอดคล้องกับกระบวนการที่วางไว้ การแก้ไขหรือยกเลิกข้อมูลก่อนที่จะเสร็จสิ้นกระบวนการ เป็นต้น หากเจ้าของระบบหรือผู้ดูแลระบบประจำส่วนงานสามารถจัดการแก้ไขปัญหานี้ได้เอง ก็จะช่วยลดจำนวนการส่ง MA มายังผู้พัฒนาระบบได้ ทั้งนี้ผู้พัฒนาระบบต้องดำเนินการปรับปรุงโปรแกรมหลังบ้านเพื่อให้รองรับกับสิ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของส่วนงานสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และเจ้าหน้าที่ประจำส่วนงานต้องพิจารณาว่าสามารถดำเนินการแก้ไขหรือยกเลิกข้อมูลได้หรือไม่ ส่งผลกระทบกับข้อมูลอื่นๆในระบบหรือไม่ จะเกิดการร้องเรียนปัญหาจากนิสิตตามมาในภายหลังหรือไม่ เป็นต้น แนวทางการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูลการแจ้งปัญหาจากระบบ MA และนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหา ตัวอย่างจากกราฟวงกลม ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 63 ครั้ง ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์จากการทำงานแบบเดิมโดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจำส่วนงานแจ้งมานั้น พบว่าปัญหาส่วนหนึ่งเป็นการขอแก้ไขข้อมูลที่ขัดกับกระบวนการที่วางในระบบ ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของส่วนงานที่มีความรู้ความเข้าใจกับงานที่รับผิดชอบเป็นผู้แก้ไขและจัดการข้อมูล โดยระบบต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด 2. จัดกลุ่มปัญหาที่มีการแจ้งเข้ามาในระบบ MA หรือปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในระบบสารสนเทศที่รับผิดชอบ …
ในระบบสารสนเทศจะมีการสร้างฟอร์มสำหรับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลผ่านระบบ ซึ่งรูปแบบของการกรอกข้อมูลมีหลายรูปแบบ เช่น Text Fields, Text Area, Checkboxes, Radio Buttons, Dropdown List, Date เป็นต้น ซึ่งองค์ความรู้ที่จะนำเสนอ คือ การคำนวณจำนวนปี จำนวนเดือนและจำนวนวัน จากรูปแบบของวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดสำหรับฐานข้อมูล Oracle ด้วยคำสั่ง SQL โดยในบทความจะนำเสนอหน้าเว็บที่ให้เลือกวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด และคำสั่ง SQL ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.หน้าเว็บสำหรับเลือกวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 หน้าจอแสดงรูปแบบการกรอกข้อมูลแบบวันที่ (Date) 2. การเขียนคำสั่ง SQL เพื่อคำนวนปี เดือน และวัน ดังภาพที่ …
Web Application Security เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยในเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่หวังดี การเจาะเว็บแอปพลิเคชันมักจะเปิดช่องโหว่ต่าง ๆ อาทิ: SQL Injection: การโจมตีในรูปแบบที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใส่ข้อมูลที่ไม่ปกติลงในคำสั่ง SQL เพื่อควบคุมฐานข้อมูลของเว็บแอปพลิเคชัน Cross-Site Scripting (XSS): การโจมตีที่เกิดจากการใส่สคริปต์ที่ไม่ปลอดภัยลงในเว็บแอปพลิเคชัน ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้: การโจมตีที่เกิดจากการใส่สคริปต์ที่ไม่ปลอดภัยลงในเว็บแอปพลิเคชัน ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้ Cross-Site Request Forgery (CSRF): การโจมตีที่ผู้ไม่หวังดีสามารถส่งคำขอในนามของผู้ใช้งานที่เข้าสู่ระบบแล้ว โดยใช้การปลอมแปลงคำขอ Insecure Direct Object References: การโจมตีที่เกิดจากการอ้างอิงไปยังวัตถุที่ควรป้องกัน ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยได้ Security Misconfiguration: การตั้งค่าความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดช่องโหว่ใหม่ในเว็บแอปพลิเคชัน Broken Authentication and Session …
ผมได้ไปอ่าน คำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์ ที่เว็บ https://agilemanifesto.org/iso/th/manifesto.html สรุปได้ว่า Agile Manifesto นั้น มีเป้าหมายในการปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทีมงาน รวมถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังให้โครงการสามารถปรับตัวตามความต้องการใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงในทันที นอกจากนี้ยังมี หลักการ 12 ข้อที่อยู่เบื้องหลังคำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์ ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญในการนำ Agile มาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจและปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ Agile Manifesto ดังนี้ ความสำคัญสูงสุดของพวกเราคือความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการส่งมอบซอฟท์แวร์ที่มีคุณค่าต่อลูกค้า ตั้งแต่ต้นอย่างต่อเนื่อง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าแม้ในช่วงท้ายของการพัฒนา เพราะอไจล์สามารถแปรเอาความเปลี่ยนแปลง มาเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันของลูกค้า ส่งมอบซอฟท์แวร์ที่ใช้งานได้จริงอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นทุกสองถึงสามสัปดาห์หรือทุกสองถึงสามเดือน โดยควรทำให้ระยะเวลาระหว่างการส่งมอบนั้นสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตัวแทนจากฝ่ายธุรกิจและนักพัฒนาจะต้องทำงานร่วมกันเป็นประจำทุกวันตลอดโครงการ ทำให้แน่ใจว่าสมาชิกโครงการเข้าใจและมีจุดมุ่งหมายของโครงการร่วมกันสร้างสภาวะแวดล้อม และให้การสนับสนุนในสิ่งที่พวกเขาต้องการและให้ความไว้วางใจแก่พวกเขาในการที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น วิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ไปสู่ทีมพัฒนาและภายในทีมพัฒนาเองคือการพูดคุยแบบซึ่งหน้า ซอฟท์แวร์ที่ใช้งานได้จริงเป็นตัวหลักในการวัดความก้าวหน้าของโครงการ …
“The Definition of Done is a formal description of the state of the Increment when it meets the quality measures required for the product. The moment a Product Backlog item meets the Definition of Done, an Increment is born. The …
การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนที่ต้องการการวางแผนอย่างรอบคอบ การทำงานร่วมกันและความสนใจต่อรายละเอียด ในช่วงปีที่ผ่านมามีองค์กรหลายแห่งเลือกใช้แนวคิด Lean เป็นวิธีการเพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ ในบทความนี้เราจะสำรวจหลักการสำคัญของ Lean ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และวิธีการช่วยให้คุณปรับปรุงกระบวนการพัฒนาของคุณได้เป็นอย่างดี ที่มาของรูปภาพ Software Development Wastes | Todd Sedano หลักการสำคัญของ Lean ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การลดการสูญเสีย: Lean เป็นเรื่องของการลดการสูญเสียในกระบวนการของคุณ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การสูญเสียสามารถมีหลายรูปแบบได้ เช่น คุณสมบัติที่ไม่จำเป็น การเขียนโค้ดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเอกสารที่มากเกินไป โดยการลดการสูญเสียคุณสามารถเร่งกระบวนการและโฟกัสที่การส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าของเรา การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: Lean เน้นความสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการของคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ สามารถทำได้โดยการนำเครื่องมือหรือกระบวนการใหม่ ๆ มาใช้ ปรับเปลี่ยนเวิร์คโฟลว์ หรือปรับเปลี่ยนบทบาทและความรับผิดชอบของทีม การส่งมอบคุณค่า: Lean …
ปัจจุบันสำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการ Google Workspace for Education ให้แก่ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนิสิต ในการใช้งานระบบผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้ที่เว็บไซต์ myid.buu.ac.th เพื่อใช้ในการเข้าระบบ Google แต่พบปัญหาว่า มีผู้ใช้บางรายมีการเข้าใช้งานหลายอุปกรณ์ ทำให้ Google มีการตรวจสอบการใช้งานและไม่สามารถเข้าระบบได้ ถึงแม้รหัสผ่านจะถูกต้อง วิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ผู้ใช้งานจะต้องทำการแจ้งปัญหาให้ผู้ดูแลระบบทราบ และผู้ดูแลจะทำการสอบถามข้อมูลยืนยันตัวตน และตรวจสอบข้อมูลจากระบบ Buu Account ระบบบริการศึกษา เมื่อข้อมูลถูกต้องจึงจะทำการกรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์สำหรับยืนยันตัวในให้ภายในระบบของ Google จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถเข้าระบบได้ โดยมีการส่งข้อมูล OTP จาก Google เข้าไปยังหมายเลขที่ผู้ใช้งานแจ้ง ในการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน มีขั้นตอนเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกต่อการทำงานของผู้ดูแลระบบ เมื่อมีปริมาณการแจ้งปัญหาปริมาณมาก ดังนั้น จึงมีการปรับวิธีการดำเนินงาน …
ในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นเราจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดรหัสตัวอักษรที่เก็บในฐานข้อมูล (Collation) เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานข้อมูลนั้นๆ และลดความผิดพลาดในการเรียกใช้งานข้อมูล ซึ่งในองค์ความรู้นี้จะยกตัวอย่าง ชนิดรหัสตัวอักษรเก็บในฐานข้อมูล ได้แก่ Thai_CI_AI, Thai_CI_AS, Thai_CS_AIและ Thai_CS_AS Thai หมายถึง ตัวอักษรภาษาไทย CI หมายถึง Case-insensitive ตัวอักษรตัวเล็กกับตัวใหญ่เป็นตัวเดียวกัน CS หมายถึง Case-sensitive ตัวอักษรตัวเล็กกับตัวใหญ่เป็นตัวคนละตัว AI หมายถึง ไม่สนใจวรรณยุกต์ AS หมายถึง สนใจวรรณยุกต์ จากภาพ เป็นตัวอย่างการออกแบบตารางโดยใช้ชนิดรหัสตัวอักษรที่เก็บในฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ฟิวด์ username จะตั้งชนิดรหัสตัวอักษรที่เก็บเป็น Thai_CI_AI ฟิวด์ username จะตั้งชนิดรหัสตัวอักษรที่เก็บเป็น Thai_CI_AS ฟิวด์ username …
วิธีสร้าง API Document 1. ไปที่ Tab Collection แล้วกดปุ่มเพิ่ม แล้วตั้งชื่อ API Document 2. กด Add a request 3. เพิ่มข้อมูล API ที่เราจะทำการทดสอบ 4. จากข้อที่ 3 ที่เราทดสอบเรียก API เจ้าตัว Postman สามารถ Gen ออกมาเป็น API Documentให้เราได้เลย หลังจากกด View documentation แล้วจะพบหน้าจอแบบนี้ หากเราต้องการ แชร์ API Document ให้ทีมหรือคนอื่นๆ …
Software Testing Process Software Testing Process คือขั้นตอนในการดำเนินการทดสอบซอฟต์แวร์ โดยผู้ที่ทำหน้าที่ทดสอบ คือ Tester, Programmer, System Analyst, Business Analyst โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Test Development และ Test Execution 1. Test Development ประกอบด้วย 2 เฟสคือ …