Chat GPT เปิดตัวมาได้สักพักแล้ว วันนี้ผมเลยมาลองเล่นกับมันดู โดยจะบอกให้ Chat GPT ลองลิสต์ keyboard Shortcut ของ Windows 11 ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยพิมพ์ข้อความว่า list all keyboard shortcut in Windows 11 as much as possible in Thai ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นอย่างนี้ Chat GPT ก็ส่งผลลัพธ์ออกมาเรื่อย ๆ แต่ ก็อาจจะหยุดการทำงานไป ผมลองพิมพ์ continue ปรากฎว่ามันก็ส่งผลลัพธ์มาต่อให้เราได้เรื่อย ๆ ดังรูป …
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ ๑.๑ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการเครื่องแม่ข่ายกลุ่ม Cluster/Blade Server ให้พร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๑.๒ ตรวจสอบ, ดูแลเฝ้าระวัง (monitoring) และแก้ไขปัญหา การให้บริการของเครื่องแม่ข่าย (ดูแลเครื่องแม่ข่ายให้ Available time อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด) ๑.๓ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือให้บริการ Campus License สำหรับนิสิตและบุคลากร ๑.๔ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย ๑.๕ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการสำรองข้อมูลระบบสารสนเทศและเครื่องแม่ข่ายของมหาวิทยาลัย ๑.๖ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา หรือดูแลการให้บริการระบบบัญชีผู้ใช้งาน (Buu Account) …
๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ งานบุคคล สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ รับผิดชอบในหน้าที่ดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้กับบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การสรรหาหรือคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ประกันสุขภาพ ประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการที่พักอาศัยของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่พักโควต้าสำนักคอมพิวเตอร์ สวัสดิการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย สวัสดิการกู้เงินเพื่อชำระหนี้สถาบันการเงิน สัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัย การขอรับทุนวิจัย การเลื่อนขั้นเงินเดือน การประเมินหัวหน้าฝ่าย การทำข้อตกลงการประเมินสมรรถนะ การเสนอข้อมูลประวัติแต่งตั้งผู้บริหารของสำนักคอมพิวเตอร์ การขอจัดทำบัตรประจำตัว การตรวจสอบรายงานการมาปฏิบัติงาน การลาทุกประเภท การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์การเสนอและเลือกตั้งต่างๆ ตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา การอบรมปฐมนิเทศของระบบ ISO ตามระเบียบปฏิบัติ จัดทำประกาศ คำสั่ง ตามระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จากการปฏิบัติงานบุคคลสำนักคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาพบปัญหาเรื่องต้องปรับการดำเนินงานใหม่ เรื่อง การสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย …
ระบบจัดการการเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) จะมีระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกคือส่วนด้านหน้ารายวิชาออนไลน์ (LMS) ที่ใช้ในการทำหน้าที่ติดต่อกับผู้เรียน ให้บริการเกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหาการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน หรือรวบรวมสรุปข้อมูลการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนที่ 2 คือส่วนที่ดูด้านหลังรายวิชาออนไลน์ (CMS) สำหรับอาจารย์และผู้พัฒนา ใช้ในการพัฒนารายวิชา สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ และส่วนที่ 3 คือส่วนสำหรับผู้ดูแลระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบ ระบบจัดการการเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) ที่ให้บริการประกอบด้วย ICT MOOC ใช้เผยแพร่วิดีโอการอบรม รายวิชาของสำนักคอมพิวเตอร์ หรือรายวิชาของมหาวิทยาลัย ระบบหลังบ้านได้ที่ http://ictmooc.buu.ac.th:18010/ ส่วนด้านหน้ารายวิชาออนไลน์ (LMS) http://ictmooc.buu.ac.th ส่วนของผู้ดูแลระบบ http://ictmooc.buu.ac.th/admin BUU MOOC …
ในการดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านไอซีทีจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในสำนักคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการที่รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานบุคลากรที่รับผิดชอบด้านต่าง ๆ เช่น วิทยากร เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ เจ้าหน้าที่เทคนิค เจ้าหน้าที่การเงิน ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านไอซีทีแต่ละครั้งจะแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ๑) ขั้นก่อนอบรม ๒) ขั้นอบรม และ ๓) ขั้นประเมินผล ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านไอซีทีในขั้นก่อนอบรม ซึ่งเป็นขั้นของการประชาสัมพันธ์โครงการ ประกอบด้วย ออกแบบโปสเตอร์และแบนเนอร์ประชาสัมพันธ์ นำข้อมูลขึ้นระบบรับสมัคร จัดทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรม ส่งข่าวประชาสัมพันธ์บน Facebook ตามแบบฟอร์มของสำนักคอมพิวเตอร์ ซึ่งในการประชาสัมพันธ์โครงการอบรมจะต้องเริ่มประชาสัมพันธ์ก่อนจัดโครงการประมาณ ๓๐ วัน โดยผู้รับผิดชอบโครงการฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ๔.๑ ประสานงานกับวิทยากรประจำหลักสูตรเพื่อกำหนดวันอบรมและรายละเอียดเนื้อหาที่จะอบรมในหลักสูตรนั้น ๆ๔.๒ จัดทำโปสเตอร์และแบนเนอร์ประชาสัมพันธ์ …
การตรวจสอบสถานะและการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนแบบเปิด(MOOC) เข้ากับบัญชีกูเกิลมหาวิทยาลัย ๑. ภาระงานที่รับผิดชอบ ตรวจสอบดูแลและปรับปรุงระบบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (MOOC) ๒. การเรียนรู้ ความคาดหวัง ของ “ลูกค้า/ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่นำเสนอ” ผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้ที่ทำงานด้านการดูแลระบบ (Administrator) เพื่อให้สามารถดูแลรักษา ตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งานให้สามารถเข้าใช้งานด้วยบัญชี @go.buu.ac.th ได้ ๓. วัตถุประสงค์ ๓.๑. เพื่อรวบรวมความรู้วิธีการในการตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งาน ๓.๒. เพื่อรวมรวมความรู้วิธีการเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานกับบัญชีผู้ใช้ @go.buu.ac.th ๓.๓. เพื่อให้ความรู้กับบุคลากรในฝ่ายให้สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ ๔. บทสรุปองค์ความรู้ ๔.๑. การตรวจสอบสถานะบัญชีผู้ใช้งาน ๔.๑.๑. เข้าสู่ระบบหลังบ้านด้วยบัญชีผู้ใช้ผู้ดูแลระบบ URL คือ …
บทสรุปองค์ความรู้ ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่รวมถึงมหาวิทยาลัยบูรพา มีการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แบบ Syslog Server เพื่อช่วยในการบริหารจัดการล็อกไฟล์ (Log files) ที่ส่งมาจาก อุปกรณ์เครือข่าย และเครื่องแม่ข่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์ Rsyslog ในการจัดเก็บและจัดการล็อกไฟล์แบบรวมศูนย์ด้วย Command Line ยังไม่มีระบบจัดการแบบ GUI ทำให้การบริหารจัดการค่อนข้างยุ่งยาก การที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์เมื่อเกิดปัญหาเกิดขึ้นกับองค์กร โดยการที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลล็อกไฟล์ต้องใช้เวลานานหรือข้อมูลไม่สัมพันธ์กันเนื่องจากแหล่งที่ส่งข้อมูลมาจัดเก็บมีหลายแหล่ง จึงได้เกิดแนวคิดนำระบบการจัดการระบบ Centralized Log Management แบบ GUI มาใช้เพื่อให้สามารถค้นหา ประมวลผล และแสดงผลข้อมูล ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยในส่วนการจัดเก็บล็อกไฟล์ยังคงใช้การจัดเก็บแบบ Syslog Server แบบเดิมเนื่องด้วยเหตุผลด้าน Information Security …
จำนวนเอกสาร ISO ที่ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานระบบครอบครองหรือเกี่ยวข้อง ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติ คู่มือ และแบบฟอร์ม ที่จัดเก็บเอกสาร (หลักฐาน) จะมีจำนวนมาก ทั้งนี้เดิมได้มีการแยกเก็บรายละเอียดเป็นจำนวนหลายไฟล์ จึงจัดทำรายการเอกสารที่มีทั้งหมดของฝ่ายข้างต้นรวมไว้ในไฟล์เดียว และนำฟังก์ชั่น Spreadsheet มาใช้ในไฟล์เอกสาร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับผิดชอบเอกสารของฝ่าย ในการปรับปรุงแก้ไขเอกสาร และการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดในการแก้ไขปรับปรุงเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกันแบบครบถ้วน รวมทั้งสามารถสรุปและกรองข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยมีฟังก์ชั่น Spreadsheet และเทคนิคที่เกี่ยวข้องดังนี้ Sheet ISO9001 & 27001 เป็น Sheet สำหรับให้บุคลากรฝ่ายบันทึกข้อมูลในคอลัมน์ “ที่จัดเก็บเอกสาร (หลักฐาน)” ของแบบฟอร์มเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถแก้ไขข้อความในคอลัมน์อื่น ๆ ยกเว้นผู้รับผิดชอบในการจัดทำไฟล์นี้เท่านั้น เนื่องจากจะมีการกำหนดสิทธิ์และรหัสผ่านสำหรับแก้ไขไว้ …
ปัจจุบันสำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการ Google Workspace for Education ให้แก่ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนิสิต ในการใช้งานระบบผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้ที่เว็บไซต์ myid.buu.ac.th เพื่อใช้ในการเข้าระบบ Google แต่พบปัญหาว่า มีผู้ใช้บางรายมีการเข้าใช้งานหลายอุปกรณ์ ทำให้ Google มีการตรวจสอบการใช้งานและไม่สามารถเข้าระบบได้ ถึงแม้รหัสผ่านจะถูกต้อง วิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ผู้ใช้งานจะต้องทำการแจ้งปัญหาให้ผู้ดูแลระบบทราบ และผู้ดูแลจะทำการสอบถามข้อมูลยืนยันตัวตน และตรวจสอบข้อมูลจากระบบ Buu Account ระบบบริการศึกษา เมื่อข้อมูลถูกต้องจึงจะทำการกรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์สำหรับยืนยันตัวในให้ภายในระบบของ Google จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถเข้าระบบได้ โดยมีการส่งข้อมูล OTP จาก Google เข้าไปยังหมายเลขที่ผู้ใช้งานแจ้ง ในการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน มีขั้นตอนเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกต่อการทำงานของผู้ดูแลระบบ เมื่อมีปริมาณการแจ้งปัญหาปริมาณมาก ดังนั้น จึงมีการปรับวิธีการดำเนินงาน …